คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม (CVS) คืออะไร – อีกหนึ่งปัญหาสุขภาพของคนวัยทำงานในยุคไอทีที่กำลังเป็นกระแสไม่แพ้ “โรคออฟฟิศซินโดรม” ด้วยรูปแบบการทำงานในปัจจุบันที่ทุกคนต้องทำงานหรือเรียนหนังสือกับคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แท็บเล็ต หรืออุปกรณ์ดิจิตอลต่าง ๆ ต่อเนื่องยาวนานแทบไม่ได้ขยับเคลื่อนไหวร่างกายเลยนอกจาก ข้อมือ นิ้วและดวงตา แล้ว “โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม” คืออะไรล่ะ อันตรายถึงชีวิตหรือไม่อย่างไร ถ้าทุกคนพร้อมแล้ว ไปอ่านกันเลย
คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม (CVS) คืออะไร
โรค CVS หรือที่มีชื่อเต็ม ๆ ว่า ‘โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม’ กลุ่มอาการที่ผิดปกติเกิดจากการใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์แบบผิด ๆ หรือเกิดจากพฤติกรรมการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แท็บเล็ต หรืออุปกรณ์ดิจิตอลต่าง ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานมากกว่า 2-3 ชั่วโมงต่อวัน หรือ การทำงานที่ต้องอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ทุก ๆ วัน และอาการเหล่านี้จะเพิ่มระดับความรุนแรงมากขึ้นเป็นทวีคูณ หากจ้องหน้าจอในที่ที่มีแสงน้อย หรือมีท่าทางที่ไม่เหมาะสมขณะใช้คอมพิวเตอร์ และเพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาที่ใช้สายตาอยู่หน้าจอที่นานขึ้น
สาเหตุของคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม
ขณะทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แท็บเล็ต หรืออุปกรณ์ดิจิตอลต่าง ๆ ดวงตาของคนเราต้องปรับโฟกัสภาพใหม่อยู่ตลอดเวลา เพราะต้องเคลื่อนไหวอ่านข้อความ ดูรูปภาพและวีดีโอ บนหน้าจอที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ยิ่งไปกว่านั้น หน้าจอคอมพิวเตอร์มีแสดงสีต่าง ๆ และมีการสั่นไหวของพิกเซลอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นจุดหลายจุด ๆ ที่รวมกันเป็นภาพ และผู้ใช้งานยังต้องโฟกัสสายตาเป็นเวลานาน นอกจากจะเกิดจากการใช้สายตากับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานแล้ว ยังพบว่า ตำแหน่งการวางและระยะห่างระหว่างดวงตากับจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แท็บเล็ต หรืออุปกรณ์ดิจิตอลต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสม แสงสว่างหรือแสงสะท้อนจากที่มากเกินไป
นอกจากนี้ ยังพบว่าการใช้สายตากับอุปกรณ์ดิจิทัลเสี่ยงทำให้ตาแห้งและระคายเคือง เนื่องจากขณะจ้องหน้าจอ ดูโทรทัศน์ หรืออ่านหนังสือบนจอดิจิทัล อัตราการกะพริบตาจะลดลงจาก 20-22 ครั้งต่อนาที เหลือเพียง 6-8 ครั้งต่อนาที ซึ่งการกะพริบตาจำเป็นต่อดวงตาอย่างมาก เพราะจะช่วยให้น้ำตาไหลออกมาหล่อเลี้ยงดวงตา ช่วยให้เกิดความชุ่มชื้นและไม่ระคายเคือง ดังนั้นเมื่อเรากระพริบตาน้อยจึงอาจจะส่งผลให้เสี่ยงเกิดอาการของ CVS ตามมาได้
อาการของคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม
ปัจจับันนี้ยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่แน่ชัดว่าการใช้คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แท็บเล็ต หรืออุปกรณ์ดิจิตอลต่าง ๆ ให้เกิดความเสียหายต่อดวงตาในระยะยาวหรือไม่ แต่การใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำอาจเสี่ยงทำให้มีอาการดังต่อไปนี้
- ตาล้า
- ระคายเคืองตา
- ตาแห้ง ตาแดง
- ตาพร่า
- มองเห็นภาพซ้อน
- ปวดศีรษะ
- ปวดคอหรือปวดหลัง
วิธีการป้องกันการเกิด คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม (CVS) ทำได้โดย
- ระยะห่างระหว่างจอภาพกับตัวเรา
ควรจัดให้มีระยะห่างระหว่างจอภาพกับตัวเราประมาณ 50–70 ซม.หรือ ห่างจากดวงตาประมาณ 20–28 นิ้ว จัดระดับจอภาพให้อยู่ในระดับสายตาประมาณ 4–9 นิ้วจากพื้นหรือโต๊ะตั้งคอมพิวเตอร์ ไม่ควรให้จอภาพอยู่สูงหรือต่ำเกินไปเท่านี้ก็ช่วยให้การใช้สายตาไม่หนักเกินความจำเป็น
- 2. กฎ 20-20-20
ควรพักการใช้สายตาเป็นระยะ โดยใช้กฎ 20-20-20 ที่ให้พักสายตาจากหน้าจอทุก 20 นาที ด้วยการมองออกไปที่ระยะ 20 ฟุต (6 เมตร) เป็นเวลาประมาณ 20 วินาที
- 3. ปรับความสว่างของห้องและหน้าจอ
ไฟบริเวณห้องหรือโต๊ะทำงาน หรือแสงสว่างจากหน้าต่างในห้องทำงาน ไม่ควรสว่างมากเกินไป เพื่อลดแสงสะท้อนจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรืออาจใช้กระจกกันแสงสะท้อนติดที่หน้าจอหรือใช้ฟิล์มติดหน้าจอกันแสงสะท้อน และปรับสภาพแสงโดยรอบให้สมดุลกับหน้าจอ เพื่อลดแสงสะท้อนเข้าดวงตา สำหรับความสว่างของหน้าจอควรปรับความสว่างให้พอเหมาะและไม่สว่างมากจนเกินไป
- ปรับขนาดตัวอักษร
นอกจากนี้ยังจำเป็นจะต้องปรับขนาดตัวอักษรบนหน้าจอให้หรือปรับให้เหมาะสมกับการใช้งาน ไม่ควรเล็กหรือใหญ่เกินไป ให้มองเห็นชัดเจนไม่ต้องจำเป็นจะต้องเพ่งตลอดการทำงานเพื่อลดการใช้งานของดวงตา
- กระพริบตาถี่ ๆ
ขณะทำงานหน้าจอ ควรกระพริบตาให้บ่อยขึ้นเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดวงตา โดยในปกติแล้วคนเราจะมีการกระพริบตาเฉลี่ยประมาณ 20-22 ครั้งต่อนาที แต่พบว่าเวลาเราใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์อย่างมีสมาธิจะทำให้ความถี่ของการกระพริบลดลงเหลือเพียง 6-8 ครั้งต่อนาที ซึ่งเป็นผลให้เกิดอาการตาแห้งและแสบตาได้ง่ายหรืออาจใช้น้ำตาเทียมหยอดตาเพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น
- ตัดแว่นเป็นอุปกรณ์เสริม
ผู้ที่มีสายตาผิดปกติ เช่น สายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง ควรได้รับการแก้ไขสายตาที่ผิดปกติด้วยแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ เพื่อให้สามารถมองเห็นภาพที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ได้อย่างชัดเจน เพื่อลดการเพ่งมองที่จะนำมาสู่อาการปวดตา หรือหรือแสบตาได้ แต่ถ้าใช้คอนแทคเลนส์เป็นประจำ ควรเว้นช่วงหยุดพักตาแล้วใส่แว่นแทนบ้าง เพราะคอนแทคเลนส์ทำให้ตาแห้งและระคายเคืองได้ง่าย
- ไปตรวจวัดสายตาเป็นประจำ
หากมีสายตาผิดปกติ ให้พบแพทย์ทันทีโดยแพทย์อาจจะแนะนำให้ใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์ บางรายอาจต้องใส่แว่นสำหรับการทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นแว่นกรองแสง ลดการตัดกันของแสง และช่วยให้มองหน้าจอได้อย่างสบายตาขึ้น
ถ้าไม่สามารถทำตามข้อควรระวังข้างต้นได้ ขอแค่เมื่อใช้คอมพิวเตอร์ ให้หยุดพักเป็นเวลาประมาณ 15 นาที ในทุก 2 ชั่วโมงก็เพียงพอแล้ว เมื่อมีการพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเกิดขึ้นเราทุกคนก็ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เท่าทันโลก ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆในร่างกายของคนเราเพราะเราใช้ร่างกายอย่างไม่ถูกวิธี ควรระมัดระวังการใช้งานคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายในระยะยาวได้ อย่าลืมว่าเราเกิดมามีร่างกายอยู่แค่ร่างเดียวเท่านั้นจะใช้งานอะไรก็ต้องดูแลให้ดีเพื่อให้มีสุขาภพร่างกายที่ดีอยู่กับเราไปนาน ๆ
อ้างอิง samitivejhospitals.com , umcvajira.com
Cover iT24Hrs