วิธีป้องกันการโดนหลอกจาก AI ของมิจฉาชีพออนไลน์ เนื่องจาก AI ได้กลายเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้สร้างเนื้อหาปลอม เช่น ภาพ วิดีโอ และเสียง ที่ดูเหมือนจริงอย่างน่าทึ่ง แม้ว่าจะมีประโยชน์ในหลายด้าน แต่ก็มีผู้ไม่หวังดีใช้ AI ในการหลอกลวงประชาชนอย่างแพร่หลาย ตัวอย่างเหตุการณ์ที่มิจฉาชีพใช้ AI หลอกเหยื่อที่พบบ่อยในปัจจุบันมีดังนี้
1. ปลอมแปลงเสียงและวิดีโอ (Deepfake)
- หลอกให้โอนเงิน: มิจฉาชีพใช้ AI สร้างวิดีโอปลอมและเสียงปลอมของบุคคลดัง คนรู้จัก คนมีชื่อเสียงน่าเชื่อถือ แล้วนำไปขู่บังคับให้เหยื่อโอนเงิน
- สร้างข่าวปลอม: สร้างวิดีโอปลอมของบุคคลสำคัญกล่าวข้อความที่บิดเบือน เพื่อสร้างความสับสนและความหวาดกลัวในสังคม
2. สร้างบัญชีปลอมบนโซเชียลมีเดีย
- แอบอ้างเป็นคนรู้จัก: สร้างบัญชีปลอมที่เหมือนกับเพื่อนหรือญาติของเหยื่อ เพื่อขอความช่วยเหลือทางการเงินหรือข้อมูลส่วนตัว
- หลอกล่อให้ลงทุน: สร้างบัญชีปลอมของผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน เพื่อชักชวนให้เหยื่อลงทุนในโครงการที่ไม่มีอยู่จริง
3. สร้าง Chatbot ปลอม
- ให้บริการลูกค้าปลอม: สร้าง Chatbot ปลอมที่เลียนแบบบริการลูกค้าของบริษัทต่างๆ เพื่อหลอกล่อให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว
- ให้คำแนะนำด้านการเงินปลอม: สร้าง Chatbot ปลอมที่ให้คำแนะนำด้านการเงินที่ผิดพลาด เพื่อชักชวนให้เหยื่อลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงสูง
4. สร้างเว็บไซต์ปลอม
- ปลอมแปลงเว็บไซต์ของธนาคาร: สร้างเว็บไซต์ปลอมที่เหมือนกับเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อหลอกล่อให้เหยื่อกรอกข้อมูลบัตรเครดิต
- ปลอมแปลงเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการ: สร้างเว็บไซต์ปลอมที่เหมือนกับเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการ เพื่อหลอกล่อให้เหยื่อดาวน์โหลดโปรแกรมที่เป็นไวรัส
วิธีป้องกันตัวเองจากการถูกหลอกลวงด้วย AI
1. ตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลเสมอ ก่อนที่คุณจะเชื่อหรือแชร์ข้อมูลใด ๆ อย่าลืมตรวจสอบแหล่งที่มาให้แน่ใจ โดยเฉพาะถ้าเป็นข้อมูลที่มีผลกระทบมาก ตรวจสอบความถูกต้องจากหลายแหล่งและระมัดระวังข้อมูลที่ดูดีเกินจริง
2. ตรวจสอบภาพและวิดีโอก่อนทุกครั้ง มีเครื่องมือออนไลน์หลายตัวที่สามารถช่วยตรวจสอบว่าภาพนั้นเคยปรากฏที่ไหนมาก่อนหรือไม่ เพื่อรีเช็คอีกครั้งว่ามีการทำรูปภาพเหล่านั้นมาดัดแปลงใหม่หรือไม่ เช่นเอาภาพที่พบนั้นมา search บน google อีกทีอาจพบภาพที่คล้ายกันหรือเหมือนกันก็ได้ และดูความผิดปกติของวิดีโอว่าเป็นวิดีโอจริง หรือการเคลื่อนไหวดูผิดปกติแบบไม่เหมือนมนุษย์ แถมเสียงก็แปลกๆ เป็นไปได้ว่าอาจสร้างด้วย AI เพื่อหวังหลอกคุณเช่นกัน นอกจากนี้บริการสร้าง AI รายอื่นอย่าง Adobe , OpenAI ก็กำลังทำเครื่องมือตรวจสอบว่าสร้างด้วย AI หรือไม่ ลองใช้เครื่องมือเหล่านี้ในการตรวจสอบภาพและวิดีโอ
3. มีวิจารณญาณในการรับข้อมูล การใช้ AI ในการปลอมแปลงสามารถทำให้เนื้อหาดูเชื่อถือได้มาก แต่การตั้งข้อสงสัยและใช้วิจารณญาณเสมอเมื่อเจอข้อมูลที่ดูผิดปกติจะช่วยลดความเสี่ยงในการตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงได้มาก
นอกเหนือจากนี้สิ่งที่ต้องระวังคือ อย่าเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวให้กับบุคคลที่ไม่รู้จัก เช่น รหัสผ่าน หมายเลขบัตรเครดิต หรือข้อมูลทางการเงิน ให้กับบุคคลที่ไม่รู้จัก
สิ่งสำคัญที่สุดคือการตระหนักถึงภัยคุกคามที่เกิดจาก AI และเรียนรู้วิธีป้องกันตัวเอง เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อเดือดร้อนทั้งตัวเองและคนอื่นๆ เทคโนโลยี AI นั้นมีทั้งประโยชน์และโทษ การเรียนรู้ที่จะใช้ AI อย่างปลอดภัยและมีจริยธรรมเป็นสิ่งสำคัญ
หากพบเจอมิจฉาชีพที่ใช้ AI หรือการหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ ต้องการแจ้งความ หรือแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับมิจฉาชีพ สามารถแจ้งได้ที่ สายด่วนศูนย์ AOC 1441 ตลอด 24 ชั่วโมง
อ้างอิง ตำรวจสอบสวนกลาง cover iT24Hrs
อ่านบทความและข่าวอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ it24hrs.com
วิธีป้องกันการโดนหลอกจาก AI ของมิจฉาชีพออนไลน์
อย่าลืมกดติดตามอัพเดตข่าวสาร ทิปเทคนิคดีๆกันนะคะ Please follow us
Youtube it24hrs
Twitter it24hrs
Tiktok it24hrs
facebook it24hrs